- สรรพคุณของเฉาก๊วย
เฉาก๊วย คำแปลคือ หญ้าเทวดา สรรพคุณรักษาโรคได้หลายชนิดอย่างชงัด
เฉาก๊วย ขนมหวานสีดำคล้ายวุ้น กินกับน้ำเชื่อมใส่น้ำแข็ง ...หวานและเย็นชื่นใจ สมัยที่ยังไม่มีน้ำแข็ง เขากินเฉาก๊วยโรยน้ำตาลทราย เท่านี้ก็อร่อยถมไป เฉาก๊วยทำมาจากพืชชื่อ เฉาก๊วย เป็นพืชล้มลุกประเภทคลุมดิน ต้นเล็ก ลักษณะคล้ายต้นสะระแหน่
เพียงแต่ใบใหญ่กว่าและเรียวแหลม เป็นพืชตระกูลเดียวกันกับมิ้นท์ ภาษาละตินเรียกพืชชนิดนี้ว่า mesona chinensis ทว่า ในหมู่ของคนจีนเองก็จะเรียกเจ้าขนมหวานชนิดนี้แตกต่างกันออกไปตามภาษาถิ่น เช่น ในภาษาจีนกลางจะเรียกว่า เหลียงเฝิ่น ' หรือ ' เซียนเฉ่า ' ที่แปลว่า หญ้าเทวดา ขณะที่ชาวมาเลย์จะเรียกว่า ' จินเจา ' เป็นต้น คนไทยเราเรียก หญ้าเฉาก๊วย (แปลว่า ขนมที่ทำจากหญ้า เพราะเฉาแปลว่า “ หญ้า ” และ ก๊วย แปลว่า “ ขนม ” )
สมัยก่อนไทยต้องสั่งต้นเฉาก๊วยแห้งจากเมืองจีนมาทำเฉาก๊วยปีละนับล้านบาท มา ๒๐ ปี นี้เอง จึงมีคนไทยนำพันธุ์เฉาก๊วยมาปลูกในเมืองไทย ทำรายได้ให้แก่ผู้ปลูกไม่น้อย
การทำเฉาก๊วยไม่ได้มีกรรมวิธีสลับซับซ้อนอะไรเลย เพียงนำต้นเฉาก๊วยมาต้มเอาเมือก แล้วผสมแป้งมันให้อยู่ตัว เท่านี้ก็เป็นอันเสร็จพิธี
คนจีนเชื่อว่าเฉาก๊วยมีสรรพคุณแก้ร้อนใน ไข้หวัด หวัดแดด ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ตับอักเสบ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และแก้อักเสบ
จาก www.oknation.net/blog/print.php?id=336474
เพียงแต่ใบใหญ่กว่าและเรียวแหลม เป็นพืชตระกูลเดียวกันกับมิ้นท์ ภาษาละตินเรียกพืชชนิดนี้ว่า mesona chinensis ทว่า ในหมู่ของคนจีนเองก็จะเรียกเจ้าขนมหวานชนิดนี้แตกต่างกันออกไปตามภาษาถิ่น เช่น ในภาษาจีนกลางจะเรียกว่า เหลียงเฝิ่น ' หรือ ' เซียนเฉ่า ' ที่แปลว่า หญ้าเทวดา ขณะที่ชาวมาเลย์จะเรียกว่า ' จินเจา ' เป็นต้น คนไทยเราเรียก หญ้าเฉาก๊วย (แปลว่า ขนมที่ทำจากหญ้า เพราะเฉาแปลว่า “ หญ้า ” และ ก๊วย แปลว่า “ ขนม ” )
สมัยก่อนไทยต้องสั่งต้นเฉาก๊วยแห้งจากเมืองจีนมาทำเฉาก๊วยปีละนับล้านบาท มา ๒๐ ปี นี้เอง จึงมีคนไทยนำพันธุ์เฉาก๊วยมาปลูกในเมืองไทย ทำรายได้ให้แก่ผู้ปลูกไม่น้อย
การทำเฉาก๊วยไม่ได้มีกรรมวิธีสลับซับซ้อนอะไรเลย เพียงนำต้นเฉาก๊วยมาต้มเอาเมือก แล้วผสมแป้งมันให้อยู่ตัว เท่านี้ก็เป็นอันเสร็จพิธี
คนจีนเชื่อว่าเฉาก๊วยมีสรรพคุณแก้ร้อนใน ไข้หวัด หวัดแดด ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ตับอักเสบ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และแก้อักเสบ
จาก www.oknation.net/blog/print.php?id=336474